Fatless Pen คืออะไร ?

Fatless Pen  คือ ปากกาแปลงร่าง เป็นตัวยาลดน้ำหนักที่อยู่ในรูปของปากกาสำหรับฉีดยา เป็นตัวยา Liraglutide มีการออกฤทธิ์ที่คล้ายกับฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกายชื่อว่า GLP-1 หลั่งออกมาจากสำไส้หลังการรับประทานอาหาร จะออกฤทธิ์จับกับตัวรับในสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร ทำให้เกิดความรู้สึกอิ่ม จึงทำให้หิวน้อยลง จะช่วยให้กินน้อยลง และทำให้น้ำหนักลดลงได

 ตัวยา Fatless Pen ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่ามีความปลอดภัย สามารถใช้ในการควบคุมน้ำหนักได้ ภายใต้การดูแลของแพทย์

Fatless Pen เหมาะสมกับใครบ้าง?

  •  ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30 คือมีภาวะอ้วน
  • หรือคนที่มีดัชนีมวลกาย BMI 27-29 คือมีภาวะน้ำหนักเกิน หรือมีปัญหาสุขภาพด้านน้ำหนัก (เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ มีปัญหาการหายใจระหว่างนอน ‘ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับเนื่อจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ’)
  • ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
  • ผู้ที่ต้องการปรับพฤติกรรมการกิน

Fatless Pen ไม่เหมาะสมกับใครบ้าง?

  • มีประวัติแพ้ Liraglutide
  • โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
  • อายุต่ำกว่า 18ปี และอายุมากกว่า 75 ปี
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของไต ตับ ลำไส้และกระเพาะอาหารควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • ตั้งครรภ์ วางแผนตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • มีการใช้ยาเบาหวาน หรือยาที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด

 วิธีใช้ 

  • ในการใช้ปากกาฉีดครั้งแรก แพทย์และพยาบาลจะสาธิตวิธีการใช้ปากกาฉีดยาให้ดู และทดสอบการใช้ปากกา ทดสอบการไหลของปากกา ทดสอบการหมุนปรับยาของปากกา
  • สามารถฉีดยาเวลาใดก็ได้ของวัน แนะนำฉีดตอนเช้า เวลาใกล้เคียงเดิมทุกๆวัน เลือกเวลาที่สะดวกในการฉีดยามากที่สุด
  • เป็นการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง ตำแหน่งที่เหมาะสมในการฉีดยา คือ บริเวณหน้าท้อง

Step 1: เช็คหลอดยา

  • ดึงปลอกปากกาออก
  • ตรวจสอบตัวยาที่บรรจุในปากกา ต้องใส ไม่มีสี ไม่ขุน โดยดูที่ช่องมองปริมาณยาบนด้ามปากกา
  •  นำเข็มฉีดยาใหม่ขึ้นมา และดึงแผ่นกระดาษปิดโคนเข็มออก
  • สวมเข็มเข้าปากกาตรงๆ แล้วหมุนให้แน่น
  • ปรับขนาดยา หมุนวงแหวนตั้งขนาดยาจนได้ตัวเลขขนาดยาที่ต้องการ ถ้าตั้งผิดสามารถหมุนปรับไปด้านหน้าหรือถอยหลังได้จนได้ขนาดยาที่ถูกต้อง ดูขนาดยาเสมอก่อนฉีดยา

Step 2: ใส่หัวเข็มใหม่ทุกครั้ง

Step 3: ทดสอบการไหลของยา

  • ก่อนใช้ปากกาใหม่ทุกครั้ง ให้ทดสอบการไหลของปากกา ให้หมุนปากกาไปขีดจุดสองจุด สำหรับทดสอบการไหลของยา และกดปุ่มฉีดยาค้างไว้ จนตัวเลขกลับมาเลข 0 จะเห็นหยดสารละลายที่ปลายเข็ม ถ้าไม่เห็นหยดสารละลายให้ทดสอบซ้ำอีกครั้ง จนครบ 6 ครั้ง ถ้าไม่มีหยดสารละลายให้เปลี่ยนเข็ม และทดสอบอีกครั้ง หากยังไม่มีสารละลายหยดออกมาอีก ให้เปลี่ยนปากกาด้ามใหม่ และติดต่อคลินิกเพื่อส่งคืนปากกา

Step 4: ปรับปริมาณยา

  • ปรับขนาดยา หมุนวงแหวนตั้งขนาดยาจนได้ตัวเลขขนาดยาที่ต้องการ ถ้าตั้งผิดสามารถหมุนปรับไปด้านหน้าหรือถอยหลังได้จนได้ขนาดยาที่ถูกต้อง ดูขนาดยาเสมอก่อนฉีดยา
  •  จิ้มเข็มฉีดยาลงบนผิวที่ต้องการ เช่น บริเวณหน้าท้อง ลักษณะแทงเข็มฉีดยาเข้าหาตัว โดยให้ปากกาด้านที่โชว์ขนาดยาที่ในลักษณะที่มองเห็นชัดขณะฉีด
  • กดปุ่มฉีดยาค้างไว้จนกระทั่งตัวเลขแสดงขนาดยาเป็นเลข 0 และรู้สึกได้ถึงเสียงคลิก

Step 5: ฉีดยาวันละครั้ง เวลาเดิม ครั้งละ 6 วินาที

  • จิ้มเข็มไว้ใต้ผิวหนังหลังจากตัวเลขกลับมาที่ 0 ให้นับช้าๆ 1-6 จึงค่อยถอนเข็มออกตรงๆ ถ้าถอนเข็มออกก่อนอาจเห็นตัวยาออกมาจากปลายเข็ม ถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่าได้รับยาไม่ครบขนาด

Step 6: กดหัวเข็มแล้วปิดฝา

  • ปิดฝาเข็ม และห้ามจับปลอกเข็มอาจเสี่ยงอันตรายเข็มทิ่มตำมือได้ 

 

ขนาดยาที่แนะนำในการฉีด 

  • เริ่มใช้ยาครั้งแรก เริ่มต้นที่ 0.6 มิลลิกรัม ทุกวัน วันละครั้ง อย่างน้อย 1 สัปดาห์ หากไม่มีอาการข้างเคียง ขนาดยาจะปรับเพิ่มครั้งละ 0.6 มิลลิกรัม 

อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ 

  • อาจคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือ ท้องผูกได้ในช่วงแรกๆหลังฉีดยา แต่อาการจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่วันเท่านั้น

การเก็บรักษายา 

  • แนะนำเก็บให้พ้นมือเด็ก เก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง