ศัลยกรรมคลินิกตัดกราม ยุบโหนก
การศัลยกรรมกระดูกใบหน้า (Facial Bone Contouring Surgery) เป็นการผ่าตัดที่ต้องตัดกระดูกใบหน้า ที่มีเส้นประสาทและเส้นเลือดต่างๆ อยู่มาก ต้องดำเนินการผ่าตัดโดยแพทย์ชำนาญการเท่านั้น
โครงหน้าทั้งหมดจะเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องมีการวางแผนอย่างละเอียดและเป็นระบบ ทั้งต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับส่วนอื่นๆ บนใบหน้าเมื่อโครงหน้าเปลี่ยนไปแล้ว
1. กรามเหลี่ยม
การผ่าตัดกับคลินิกตัดกรามเหลี่ยม เป็นการผ่าตัดแก้ไขกรามที่มีลักษณะเหลี่ยมเป็นยูไลน์ (U-line) ร่วมกับการลดขนาดคางให้เล็กและแหลม ตัดมุมเหลี่ยมของขากรรไกรทั้งสองข้างออกและเหลาปลายคางให้แหลม เมื่อกรามเหลี่ยมหายไป จะทำให้คางเรียวแหลมขึ้น ส่งผลให้ใบหน้าเปลี่ยนไปอย่างมาก ในกรณีสำหรับผู้ที่มีใบหน้าสองด้านไม่สมมาตรกัน การผ่าตัดกรามเหลี่ยมร่วมกับการผ่านตัดแก้ไขใบหน้าเบี้ยวจะยิ่งช่วยแก้ไขโครงหน้าได้ดีมาก ถ้าใบหน้าเหลี่ยมเพราะคางใหญ่และสั้น ผลที่ได้จะยิ่งชัดเจน สำหรับผู้ที่คางใหญ่และสั้นการผ่าตัดกรามพื้นฐานเพียงอย่างเดียวจะช่วยให้หน้าดูเรียวขึ้น แต่คางยังใหญ่และยังสั้นอยู่ ดังนั้นการผ่าตัดและเหลาปลายคางจะช่วยให้ผลลัพธ์ที่หน้าพึงพอใจ
การผ่าตัดกรามเหลี่ยมให้เรียวสวย
การผ่าตัดกรามเหลี่ยม
นอกจากแก้ไขกรามเหลี่ยมแล้วยังแก้ไขคางให้เล็กแหลมขึ้น รูปหน้าจึงเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อมองจากหน้าตรงจะเห็นผลดีกว่าการผ่าตัดของคลินิกตัดกรามเหลี่ยมพื้นฐาน ถ้าคนไข้หน้าเหลี่ยมเพราะคางกว้างทู่จะยิ่งได้ผลดี
ให้ความสำคัญกับการทำศัลยกรรมผ่าตัดกราม
การผ่าตัดกับคลินิกตัดกรามเหลี่ยม เป็นการผ่าตัดกระดูกใบหน้าที่มีเส้นประสาทและเส้นเลือดต่างๆ อยู่มากจึงต้องดำเนินการผ่าตัดโดยแพทย์ชำนาญการและมีประสบการณ์เท่านั้น เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ยาก และต้องวิเคราะห์ใบหน้าอย่างละเอียด ด้วยภาพถ่ายซีทีสแกนสามมิติก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเส้นประสาท
ใช้ผ่าตัดแก้ไขแก้ไขการผ่าตัดกรามเหลี่ยมพื้นฐาน
หากคนไข้ไม่พอใจผลการผ่าตัดกับคลินิกตัดกรามเหลี่ยมพื้นฐาน เพราะไม่ได้ผ่าตัดกรามร่วมด้วย นี่เป็นวิธีผ่าตัดแก้ไขที่ได้ผลดี ทั้งยังสามารถผ่าตัดแก้ไขใบหน้าสองด้านที่ไม่สมมาตรกันพร้อมกันได้ด้วย
วิธีผ่าตัดกรามเหลี่ยมให้เป็นเรียวสวย
1. คนที่ผ่าตัดกรามเหลี่ยมพื้นฐานแล้ว แต่รูปหน้ายังไม่เรียว
2. คนที่คางใหญ่ทู่
3. คนที่หน้ากลมและกรามใหญ่
4. คนที่กรามใหญ่และใบหน้าสองด้านไม่สมมาตรกัน
การผ่าตัดกรามเหลี่ยม
กรามเหลี่ยม หมายถึง ขากรรไกรล่างใหญ่และมีเหลี่ยมมุม ทำให้รูปหน้าเป็นสี่เหลี่ยมโดยเฉพาะกระดูกที่อยู่ใต้หูจะทำให้ใบหน้าดูใหญ่กว่าความเป็นจริง กรณีแบบนี้ต้องผ่าตัดเอามุมเหลี่ยมของขากรรไกรออก และลดขนาดกรามลงด้วย ใบหน้าจะเรียวลง เพื่อให้ได้ผลการผ่าตัดที่ดีที่สุดสำหรับใบหน้าด้านหน้า ควรผ่าตัดลดขนาดกรามและเอาเปลือกนอกของขากรรไกรออกร่วมด้วย การผ่าตัดลดกรามคือการผ่าตัดเอาเหลี่ยมมุมของขากรรไกรล่างออก เพื่อให้รูปหนเาเรียวดูนุ่มนวล ส่วนการเอาเปลือกนอกของขากรรไกรออกคือการเอาเฉพาะเปลือกนอกจากโครงสร้างกระดูกที่มีสามชั้นออกเพียงชั้นเดียว เพื่อให้กระดูกขากรรไกรเล็กลง
การกรอขากรรไกร
ถ้าขากรรไกรกว้าง การกรอปลายขากรรไกรรวมทั้งปลายคาง เป็นหนึ่งในวิธีการผ่าตัดกับคลินิกตัดกรามพื้นฐานที่แม้จะมีข้อจำกัด แต่ก็สามารถช่วยให้ใบหน้ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นที่หน้าพอใจได้ ไม่เพียงใบหน้าด้านข้าง แต่ยังรวมถึงใบหน้าตรงด้วย โดยการกรอขากรรไกรที่ต่อกับโหนกแก้มรวมทั้งปลายคางออก ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความสมดุลกับหูตาจมูกและใบหน้าโดยรวม ใบหน้าจึงดูดีขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง ถ้ามีปัญหาใบหน้าสองด้านไม่สมมาตรกัน ก็สามารถแก้ไขพร้อมกันได้
2. โหนกแก้ม
การผ่าตัดหนุนกระดูกโหนกแก้มสามมิติ
ทฤษฎีพื้นฐานของการลดโหนกแก้ม คือการตัดโหนกแก้มที่ใหญ่แล้วเลื่อนเข้าไว้ข้างใน วิธีศัลยกรรมนี้ได้ผลดีสำหรับชาวตะวันออกที่มีกระดูกโหนกแก้มนูนออกมาด้านข้าง แต่ถ้ากระดูกโหนกแก้มไม่ได้ใหญ่มาก ก็อาจมีข้อจำกัดในการใส่กระดูกเข้าไว้ด้านใน วิธีผ่าตัดหมุนกระดูกโหนกแก้มสามมิติจึงเป็นอีกวิธีที่ได้ผลดี
การลดโหนกแก้ม ด้วยวิธีผ่าตัดหมุนกระดูกโหนกแก้มสามมิติ ไม่ใช่การเอากระดูกโหนกแก้มใส่ไว้ข้างในแบบง่ายๆ แต่เป็นการหมุนกระดูกโหนกแก้มเข้าด้านใน จึงช่วยลดกระดูกโหนกแก้มที่โปนออกมาด้านข้างได้ตามความจำเป็น และได้ผลดีในกรณีที่กระดูกโหนกแก้มไม่ใหญ่มาก การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะดูเป็นธรรมชาติมากกว่าวิธีผ่าตัดธรรมดา คนไข้จึงพอใจกับผลการผ่าตัดมากขึ้นใบหน้าโดยรวมเล็กลงและดูมีมิติ กระดูกที่ถูกตัดจะสมานกันดีและใช้เวลาพักฟื้นน้อยลง
การผ่าตัดหมุนกระดูกโหนกแก้มสามมิติเป็นการหมุนกระดูกโหนกแก้มเข้าด้านใน ส่วนที่ยื่นออกมาด้านข้างจะถูกหมุนมาข้างหน้า ช่วยแก้ไขไขปัญหาหน้าแบนทำให้หน้าดูมีมิติและเล็กลง
การผ่าตัดลดโหนกแก้ม
หากกระดูกโหนกแก้มโปนออกมาทางด้านหน้า สามารถกรอกระดูกโหนกแก้มส่วนหน้าผ่านแผลผ่าตัดในปากได้ นอกจากกระดูกโหนกแก้มด้านหน้าแล้วกระดูกโหนกแก้มที่โปนออกมาด้านข้างก็สามารถตัดออกได้โดยผ่านแผลความยาว 1 เซนติเมตร ที่ไรผมบริเวณเหนือขมับ และแผลยาว 4 เซนติเมตร ในปาก เมื่อตัดกระดูกโหนกแก้มผ่านทางรอยกรีดแผลเหล่านี้แล้วจะเลื่อนกระดูกเข้าไว้ด้านในแล้วยึดไว้ด้วยสกรู
เมื่อผ่าตัดลดกระดูกโหนกแก้ม แล้วมักมีปัญหาแก้มหย่อนคล้อย จึงต้องมีการศัลยกรรมเพิ่มเพื่อป้องกันปัญหานี้
การผ่าตัดลดโหนกแก้ม จะช่วยลดขนาดกระดูกใบหน้าช่วงกลาง ไม่เพียงกระดูกโหนกแก้มเท่านั้น ใบหน้าก็เล็กลงด้วย เนื่องจากไม่ใช่วิธีลดขนาดใบหน้าให้เล็กลงแบบปกติ เพราะยังคงส่วนที่ต้องนูนออกหรือส่วนที่ต้องยุบเข้าเอาไว้ ใบหน้าจึงไม่เพียงเล็กลงเท่านั้น แต่จะมีมิติขึ้นด้วย
3. ขากรรไกร
การศัลยกรรมขากรรไกร คือการผ่าตัดแก้ไขกระดูกขากรรไกรที่ผิดปกติและมีปัญหา เช่น คางยื่น ปากยื่น ใบหน้าเบี้ยว เป็นต้น คนไข้ที่ต้องการศัลยกรรมขากรรไกรเพราะรู้สึกว่าใบหน้าผิดส่วนมักมีปัญหาฟันร่วมด้วย เช่น สบฟันผิดปกติ ความผิดปกติในการเคี้ยวหรือพูด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรและการสบฟันเท่านั้น แต่ยังให้ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศด้านความงามของรูปหน้าอีกด้วย
การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรล่างจะทำผ่านแผลภายในปาก ซึ่งแบ่งเป็น 2 วิธี คือ
1. วิธีผ่าตัดแบบ SSRO เป็นวิธีที่นิยมมาก และมีข้อดีที่ลดภาระในการทำกายภาพบำบัดและการมัดฟัน
ข้อดีของการศัลยกรรมขากรรไกรแบบ SSRO
- กระดูกที่ถูกตัดออกมีผิวหน้ากว้าง จึงสมานเชื่อมกันง่าย
- เนื่องจากกระดูกขากรรไกรถูกยึดให้ติดกันจึงใช้เวลามัดฟันไม่นาน
- ขากรรไกรล่างฟื้นตัวเร็ว
- ใช้แก้ไขคางสั้นโดยเฉพาะ
- กำหนดรูปทรงของขากรรไกรได้ล่วงหน้า
ข้อเสียของการศัลยกรรมขากรรไกรแบบ SSRO
- ต้องยึดขากรรไกรเอาไว้ จึงอาจทำให้ข้อต่อขากรรไกรรับภาระหนัก
- เนื่องจากต้องตัดกระดูกขากรรไกรล่างบริเวณที่มีเส้นประสาทอยู่ภายใน จึงอาจทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย
- ใช้เวลาผ่าตัดนานกว่าแบบ IVRO
- ใช้เวลาพักฟื้นตัวนานกว่าแบบ IVRO
2. วิธีผ่าตัดแบบ IVRO เป็นวิธีแก้ปัญหาคางยื่นโดยไม่ทำให้ข้อต่อขากรรไกรรับภาระหนัก จะได้ผลดีกับคนที่มีปัญหาข้อต่อขากรรไกร
ข้อดีของการศัลยกรรมขากรรไกรแบบ IVRO
- ไม่ต้องยึดขากรรไกร หลังผ่าตัดจึงสามารถอ้าปากได้ ไม่ทำให้ข้อต่อขากรรไกรรับภาระหนัก แก้ปัญหาอาการบาดเจ็บหรือปวดข้อต่อขากรรไกร
- ตำแหน่งตัดกระดูกขากรรไกรอยู่หลังบริเวณที่มีเส้นประสาท จึงไม่ทำให้เส้นประสาทเสียหาย
- ใช้เวลาผ่าตัดนานกว่าแบบ SSOR
- เวลาพักฟื้นน้อยกว่ากว่าแบบ SSOR
- ในช่วงแรกอาจต้องใช้เวลากายภาพบำบัด ข้อต่อขากรรไกรจะไม่รับภาระหนัก ขากรรไกรล่างจึงต้องใช้เวลาฟื้นตัวเร็วกว่าแบบ SSRO
- มองไม่เห็นแผ่นยึดบริเวณขากรรไกรเวลาถ่ายภาพเอกซเรย์
ข้อเสียของการศัลยกรรมขากรรไกรแบบ IVRO
- เนื่องจากไม่มีการยึด จึงต้องปิดปากไว้ 2 สัปดาห์ เพื่อให้กระดูกขากรรไกรล่างหายดี
- ในช่วงแรกเมื่อของจับเบาๆดูบริเวณที่ขากรรไกรเชื่อมต่อกัน
- ใช้การผ่าตัดแก้ปัญหาคางสั้นได้ยาก
กรณีที่ต้องทำศัลยกรรมขากรรไกร
1. หน้ายาว : หน้ายาวอาจเกิดจากคางยาว และมักมีปัญหาปากยื่นหรือคางยื่นร่วมด้วย กรณีนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการศัลยกรรมขากรรไกร ลดความยาวของขากรรไกรที่ทำให้หน้ายาว และปรับให้พอดีกับขากรรไกรบน ความยาวของใบหน้าก็จะลดลงครึ่งหนึ่ง
2. คางยื่น : เกิดจากฟันกรามล่างอยู่ในตำแหน่งล้ำออกมาข้างหน้าฟันกราม และคางยื่นยังแบ่งได้ตามความยาวของใบหน้า ทั้งคางยื่นปกติ คางยื่นหน้ายาว และคางยื่นหน้าสั้นได้อีกด้วย สาเหตุที่ทำให้คางยื่นมาจากขากรรไกรล่างเจริญเติมโตมากกว่าปกติ หรืออาจเกิดจากขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโตหรือเกิดจากทั้งสองสาเหตุร่วมกัน
3. คางสั้น : มีปัญหาฟันและขากรรไกรบนยื่นออกมา มักเกิดจากขากรรไกรล่างเล็กกว่าปกติ ปากจึงดูยื่นและมีปัญหาในการเคี้ยว
4. หน้าเบี้ยว : ถ้าขากรรไกรล่างเบี้ยวใบหน้าก็จะเบี้ยวตาม และต้องรอจนขากรรไกรเจริญเติบโตเต็มที่จึงจะสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ มีทั้งกรณีที่ใบหน้าเบี้ยวเพราะขากรรไกรล่างเบี้ยวเพียงอย่างเดียวหรือเกิดจากขากรรไกรบนเบี้ยวร่วมด้วย
5. ปากยื่น : ถ้ามีปัญหาปากปิดไม่สนิทหรือจมูกต่ำ ทั้งๆ ที่จมูกโด่งและมีริ้วรอยลึกที่ร่องแก้ม จะเรียกว่าปัญหาปากยื่น เมื่อใช้ไม้บรรทัดทาบปลายจมูกกับคางจะทีบบนริมฝีปากด้วย
การศัลยกรรมขากรรไกรแบบไม่ยึด
การศัลยกรรมขากรรไกรพื้นฐานจะต้องทำการมัดฟัน คือ การมัดฟันบนและล่างเอาไว้ระยะเวลาหนึ่ง (2-4 สัปดาห์) หลังผ่าตัดเพื่อให้กระดูกขากรรไกรเชื่อมต่อกัน เพราะหากไม่มัดฟันไว้ฟันอาจจะไม่สบกันและทำให้ข้อต่อขากรรไกรรับภาระหนัก
การศัลยกรรมขากรรไกรแบบไม่ยึดเป็นวิธีที่ให้ผลดีเหมือนกับการศัลยกรรมขากรรไกรพื้นฐานโดยไม่ต้องมัดฟันและไม่ต้องใส่ที่ยึดฟันเพื่อยึดขากรรไกรบนล่าง การผ่าตัดจึงต้องละเอียดรอบคอบมากขึ้นไปด้วย ต้องดำเนินการผ่าตัดด้วยแพทย์ชำนาญการและมีประสบการณ์ หลังจากที่ผ่าตัด 1 เดือน กล้ามเนื้อจะเริ่มถูกสร้างขึ้นใหม่ กระดูกเริ่มสมานกันหลัง 6 สัปดาห์ จึงจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มที่
ข้อดี ของการทำศัลยกรรมขากรรไกรแบบไม่ยึด ประการแรกคือความสบายเพราะการมัดฟันหลังผ่าตัดทำให้หายใจและทรมาน แต่ถ้าผ่าตัดแบบไม่ยึดจะสามารถอ้าปากแบบหายใจได้ ทำให้หายใจสะดวกและพูดสื่อสารได้ อีกทั้งการใช้แผ่นไทเทเนียมที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายยึดกระดูกขากรรไกรเข้าไว้ด้วยกัน ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาแผ่นไทเทเนียมออกอีกภายหลัง
ในช่วงที่ต้องกินอาหารเหลวหลังทำศัลยกรรมขากรรไกร หากต้องมัดฟันจะกินอาหารได้ลำบาก และดูแลความสะอาดภายในช่องปากได้ยาก แต่การทำศัลยกรรมขากรรไกรแบบไม่ยึด คนไข้สามารถอ้าปากกินอาหารได้ และดูแลความสะอาดช่องปากได้ง่ายกว่าเพราะไม่ต้องมัดฟันและหุบปากสนิท ข้อต่อขากรรไกรก้ไม่ยึดแข็งจึงไม่ต้องมาฝึกอ้าปากอีก หลังการผ่าตัดจะใช้เวลาพักฟื้นเท่ากับการทำศัลยกรรมโหนกแก้มและใบหน้าเหลี่ยม สามารถกลับมาใช้ชีวิติประจำวันได้เร็วกว่าการศัลยกรรมขากรรไกรพื้นฐานมาก
วิธีดูแลตัวเองหลังการศัลยกรรมโครงหน้าและการศัลยกรรมขากรรไกร
1. หลังผ่าตัดงดอาหาร 1 วัน จากนั้นกินอาหารเหลว 7 วัน (อาหารเหลวที่ไม่ต้องเคี้ยว เช่น โจ๊ก น้ำผลไม้ นม ฯลฯ)
2. หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ จึงเริ่มกินอาหารปกติได้ แต่ต้องตัดอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อน และจะสามารถกินอาหารแข็งๆ ได้หลัง 4 สัปดาห์ ไปแล้ว
3. หลังผ่าตัดต้องใส่ผ้ารัดใบหน้า 3 -4 วัน ห้ามนอนคว่ำหรือนอนตะแคง ต้องนอนให้ศีรษะสูง หนุนหมอน 2 -3 ใบ เพื่อช่วยลดอาการปวด
4. กลังผ่าตัดจะต้องบ้วนปากหลังกินกินอาหารและรักษาความสะอาดภายในช่องปาก เพื่อป้องกันแผลในปากติดเชื้อและอักเสบ
5. งดดื่มเหล้าและสูบบุหรี่หลังผ่าตัด 4 สัปดาห์เพื่อให้แผลหายเร็ว
6. ระวังอย่าให้ใบหน้าได้รับความกระทบกระเทือนรุนแรงจนกว่าจะหายดี
เทคนิคแก้อาการบวมหลังผ่าตัดขากรรไกร
การประคบเย็น : ใบหน้าจะมีอาการบวมหลังผ่าตัดขากรรไกร 3 – 4 วัน ต้องประคบเย็นตลอดเวลา
การนอน : หลังผ่าตัด 3 – 4 วัน จะต้องนอนหนุนหมอนสูงๆให้ศีรษะอยู่สูงกว่าระดับอก เพื่อให้เลือดไหลเวียนลดอาการบวม ช่วยให้หายบวมเร็วขึ้นและไม่ควรอยู่ในท่านอนมากเกินไป
การกินอาหาร : หลังผ่าตัดศัลยกรรมขากรรไกร ควรกินถั่วแดง ชาไหมข้าวโพด น้ำฟักทอง เพื่อช่วยลดอาการบวมและช่วยย่อยอาหาร ถั่วแดงช่วยขับของเหลวส่วนเกินในร่างกาย
รีวิวศัลยกรรมกระดูกใบหน้าที่ F Clinic
ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
*รีวิวนี้ได้รับการยินยอมให้เผยแพร่จากผู้เข้ารับบริการ
*ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับบุคคล ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตัดสินใจ
*ใช้เป็นตัวอย่างผลจากการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย